วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

เสียงปี๊บของ BIOS

คุณจะสังเกตได้ว่าเมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ เราก็จะได้ยินเสียงจากลำโพงเล็กๆ ที่ติดตั้งอยู่กับอยู่ภายในตัวเคส ซึ่งเสียง ที่ออกมาจากลำโพงของเคสนี้เป็นเสียงที่เกิดจากการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆว่าทำ งานได้อย่างเป็นปกติหรือไม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ สำคัญอีกประการหนึ่งของไบออส (BIOS – Basic Input Output System) นั่นเอง ยกตัวอย่างได้แก่เมนบอร์ดที่ใช้ ไบออสยี่ห้อ Award ก็จะมีเสียงบี๊บสั้นๆแค่บี๊บเดียวถ้าเกิดไบออสตรวจสอบแล้วว่าอุปกรณ์ ทุกอย่างสามารถทำงานได้เป็นปกติ ถ้าหากอุปกรณ์ตัวใดเกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็จะมีเสียงเตือนออกมาในลักษณะที่มีเสียงสั้นยาวแตกต่างกัน เหมือนกับเป็นรหัส คุณรู้ มั๊ยครับว่าช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็อาศัยเสียงเตือนต่างๆจากไบออสนี้ เองในการวิเคราะห์ถึงอาการเสียต่างๆ ซึ่งเราจะ เรียกเสียงที่เกิดขึ้นนี้ว่า Beep Code โดยไบออสที่ได้ผลิตออกมาก็มีหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็จะมีลักษณะของเสียงเตือนหรือ Beep Code นี้ไม่เหมือนกัน เรามาดูกันว่าในไบออสแต่ละยี่ห้อนั้นมีลักษณะของเสียงเตือนเป็นอย่างไรกัน บ้าง เผื่อเวลาที่ คุณมีปัญหาขึ้นมาจะได้รู้ทันทีว่าควรจะแก้ไขที่อุปกรณ์ตัวใดเป็นอันดับแรก แต่ถ้าคุณยังไม่ทราบว่าเมนบอร์ดที่คุณใช้อยู่ใช้ ไบออสของผู้ผลิตยี่ห้อใดนั้น คุณก็สามารถที่จะดูได้จากคู่มือเมนบอร์ดของคุณเอง(เห็นมั๊ยครับว่าคู่มือเมน บอร์ดของคุณมี ความสำคัญมากแค่ไหน)หรือไม่ก็จากหน้าจอการโพสต์ก็ได้ เมนบอร์ดที่ใช้ไบออส Award และ AMI

ไม่มีเสียง : เมื่อกดปุ่มพาวเวอร์สวิตช์แล้วไม่มีเสียงก็ให้ครวจเช็คในส่วนของพาวเวอร์ ซัพพลาย เมนบอร์ด ลำโพง คอมพิวเตอร์อาจเสียหรือไม่ได้ต่อสายสัญญาณจากเมนบอร์ด
1 ครั้ง : แสดงว่าครื่องทำงานเป็นปกติ

2 ครั้ง : แรมอาจจะมีปัญหาให้ตรวจสอบว่ามีแรมตัวใดตัวหนึ่งอาจจะเสีย หรือไม่ก็เสียบแรมลงบนสล็อตไม่แน่นพอ

3 ครั้ง : สาเหตุเช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง

4 ครั้ง : สาเหตุเช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง

5 ครั้ง : สาเหตุเช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง

6 ครั้ง : อาจจะมีปัญหาจากชิพที่ควบคุมในส่วนของคีย์บอร์ด หรือคีย์บอร์ดอาจจะเสีย

7 ครั้ง : ซีพียูมีปัญหา

8 ครั้ง : มีปัญหาที่การ์ดแสดงผล

9 ครั้ง : มีปัญหาที่ไบออส อาจจะต้องเปลี่ยนไบออสใหม่

10 ครั้ง : มีปัญหาที่CMOS ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

11 ครั้ง : มีปัญหาที่หน่วยความจำแคช
เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสของ Phonix

เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสของ Phonix จะมีรายละเอียดมากกว่าของ AMI และ Award โดยจะมีลักษณะของเสียงค่อน ข้างที่จะซับซ้อน ซึ่งคุณจะต้องนับจำนวนครั้งและลักษณะของเสียงให้ถูกต้อง ถ้าไม่ทันก็ให้กดรีสตาร์ตเครื่องใหม่แล้วนับใหม่

1 – 1 – 3 เครื่องไม่สามารถที่จะอ่านค่าที่กำหนดใน CMOS ได้ ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

1 – 1 – 4 มีปัญหาที่ BIOS ต้องเปลี่ยน BIOS ใหม่

1 – 2 – 1 มีปัญหาที่ชิพ Timer ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

1 – 2 – 2 เมนบอร์ดเสีย

1 – 2 – 3 เมนบอร์ดเสีย

1 – 3 – 1 เมนบอร์ดเสีย

1 – 3 – 3 เช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง ของ AMI

1 – 3 – 4 เมนบอร์ดเสีย

1 – 4 – 1 เมนบอร์ดเสีย

1 – 4 – 2 มีแรมบางตัวเสีย
2 - - มีเสียงบี๊บดังก่อนสองครั้ง ก่อนที่จะมีเสียงบี๊บอื่นตามมา แสดงว่ามีปัญหาจากแรม

3 – 1 - มีชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสีย

3 – 2 – 4 มีปัญหาที่ตัวชิพควบคุมการทำงานของเมนบอร์ด

3 – 3 – 4 มีปัญหาที่การ์ดแสดงผล อาจจะเสียบไม่แน่น หรือ ช่องเสียบการ์ดไม่ดี เป็นต้น

3 – 4 - การ์ดแสดงผลเสียต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่

4 – 2 – 1 มีชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสียต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 2 – 2 ตรวจสอบคีย์บอร์ด โดยการนำไปเสียบกับเครื่องอื่นก่อนว่าใช้งานได้หรือไม่ ถ้าคีย์บอร์ดตัวนั้นใช้งานได้ก็ ต้อง เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 2 – 3 เหมือนกับ 4 – 2 – 2

4 – 2 – 4 มีการ์ดตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ดเสีย ให้ลองถอดการ์ดแต่ละตัวออก แล้วทดสอบการ์ดทีละการ์ด ดู ว่าเสียงหายหรือไม่ ถ้าทดสอบการ์ดหมดทุกการ์ดแล้วปรากฏว่าเสียงยังไม่หาย ก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 1 ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 2 ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 3 ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 4 ดูวันที่และเวลาของคอมพิวเตอร์ว่าเดินตรงหรือไม่ ให้ลองตั้งเวลาใหม่แล้วปิดเครื่องทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงเปอดเครื่องใหม่เพื่อที่จะดูว่าวันเวลาตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้เปลี่ยนแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ถ้าเปลี่ยนแล้วยังมีเสียง ลักษณะนี้อยู่ แสดงว่ามีปัญหาจากพาวเวอร์ซัพพลาย

4 – 4 – 1 มีปัญหาที่พอร์ตอนุกรม

4 – 4 – 2 มีปัญหาเหมือนกับ 4 – 4 – 1

4 – 4 – 3 มีปัญหาที่ Math coprocessor ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ซีพียู

ระดับ 486 ขึ้นมา ต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่ นี่ก็คือลักษณะของ beep code ของ BIOS ยี่ห้อต่างๆ ซึ่งก็จะทำให้การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับคุณง่ายขึ้นมาก เลยทีเดียวครับ และนี่ก็คือเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากต่อช่างซ่อมคอมพิวเตอร์เขาล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น