วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Network Path มีปัญหา

Network Path มีปัญหาจะติดตั้ง Printer จากเครื่องที่ Share ไม่สามารถทำได้ ขึ้น Error ดังภาพ

วิธีแก้ปัญหา
Make sure that NetBIOS is enabled over TCP/IP - this was the cause of my problems:
- Network Connections
- Right click network card and select Properties
- Highlight Internet Protocol (TCP/IP) and click properties button
- On the General tab click the Advanced button
- Select the WINS tab
 Make sure 'Disable NetBIOS over TCP/IP' in NOT selected. Either of the other options is fine.

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไม่สามารถเลือก turn off password protect sharing ในโหมด advanced sharing sttings ได้

            ปัญหาคือจะเปิดแชร์โฟลเดอร์ในเครื่องตัวเอง แต่ไม่อยากใส่ password แล้วไม่สามารถเลือก turn off password protect sharing ในโหมด advanced sharing sttings และกด save changes ตามลำดับแล้ว เมื่อกลับเข้าไปดูปรากฏว่า จะกลับไปเลือก turn on password sharing เองอัตโนมัติโดยไม่มีข้อความแจ้งเตือน หรือ error massage ใดๆทั้งสิ้น
     
 ผมได้ลองค้นหาวิธีแก้ปัญหา คือ แค่เอา password บน Guest ออกก็จะสามารถแก้ปัญหาได้

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

เสียงปี๊บของ BIOS

คุณจะสังเกตได้ว่าเมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ เราก็จะได้ยินเสียงจากลำโพงเล็กๆ ที่ติดตั้งอยู่กับอยู่ภายในตัวเคส ซึ่งเสียง ที่ออกมาจากลำโพงของเคสนี้เป็นเสียงที่เกิดจากการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆว่าทำ งานได้อย่างเป็นปกติหรือไม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ สำคัญอีกประการหนึ่งของไบออส (BIOS – Basic Input Output System) นั่นเอง ยกตัวอย่างได้แก่เมนบอร์ดที่ใช้ ไบออสยี่ห้อ Award ก็จะมีเสียงบี๊บสั้นๆแค่บี๊บเดียวถ้าเกิดไบออสตรวจสอบแล้วว่าอุปกรณ์ ทุกอย่างสามารถทำงานได้เป็นปกติ ถ้าหากอุปกรณ์ตัวใดเกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็จะมีเสียงเตือนออกมาในลักษณะที่มีเสียงสั้นยาวแตกต่างกัน เหมือนกับเป็นรหัส คุณรู้ มั๊ยครับว่าช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็อาศัยเสียงเตือนต่างๆจากไบออสนี้ เองในการวิเคราะห์ถึงอาการเสียต่างๆ ซึ่งเราจะ เรียกเสียงที่เกิดขึ้นนี้ว่า Beep Code โดยไบออสที่ได้ผลิตออกมาก็มีหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็จะมีลักษณะของเสียงเตือนหรือ Beep Code นี้ไม่เหมือนกัน เรามาดูกันว่าในไบออสแต่ละยี่ห้อนั้นมีลักษณะของเสียงเตือนเป็นอย่างไรกัน บ้าง เผื่อเวลาที่ คุณมีปัญหาขึ้นมาจะได้รู้ทันทีว่าควรจะแก้ไขที่อุปกรณ์ตัวใดเป็นอันดับแรก แต่ถ้าคุณยังไม่ทราบว่าเมนบอร์ดที่คุณใช้อยู่ใช้ ไบออสของผู้ผลิตยี่ห้อใดนั้น คุณก็สามารถที่จะดูได้จากคู่มือเมนบอร์ดของคุณเอง(เห็นมั๊ยครับว่าคู่มือเมน บอร์ดของคุณมี ความสำคัญมากแค่ไหน)หรือไม่ก็จากหน้าจอการโพสต์ก็ได้ เมนบอร์ดที่ใช้ไบออส Award และ AMI

ไม่มีเสียง : เมื่อกดปุ่มพาวเวอร์สวิตช์แล้วไม่มีเสียงก็ให้ครวจเช็คในส่วนของพาวเวอร์ ซัพพลาย เมนบอร์ด ลำโพง คอมพิวเตอร์อาจเสียหรือไม่ได้ต่อสายสัญญาณจากเมนบอร์ด
1 ครั้ง : แสดงว่าครื่องทำงานเป็นปกติ

2 ครั้ง : แรมอาจจะมีปัญหาให้ตรวจสอบว่ามีแรมตัวใดตัวหนึ่งอาจจะเสีย หรือไม่ก็เสียบแรมลงบนสล็อตไม่แน่นพอ

3 ครั้ง : สาเหตุเช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง

4 ครั้ง : สาเหตุเช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง

5 ครั้ง : สาเหตุเช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง

6 ครั้ง : อาจจะมีปัญหาจากชิพที่ควบคุมในส่วนของคีย์บอร์ด หรือคีย์บอร์ดอาจจะเสีย

7 ครั้ง : ซีพียูมีปัญหา

8 ครั้ง : มีปัญหาที่การ์ดแสดงผล

9 ครั้ง : มีปัญหาที่ไบออส อาจจะต้องเปลี่ยนไบออสใหม่

10 ครั้ง : มีปัญหาที่CMOS ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

11 ครั้ง : มีปัญหาที่หน่วยความจำแคช
เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสของ Phonix

เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสของ Phonix จะมีรายละเอียดมากกว่าของ AMI และ Award โดยจะมีลักษณะของเสียงค่อน ข้างที่จะซับซ้อน ซึ่งคุณจะต้องนับจำนวนครั้งและลักษณะของเสียงให้ถูกต้อง ถ้าไม่ทันก็ให้กดรีสตาร์ตเครื่องใหม่แล้วนับใหม่

1 – 1 – 3 เครื่องไม่สามารถที่จะอ่านค่าที่กำหนดใน CMOS ได้ ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

1 – 1 – 4 มีปัญหาที่ BIOS ต้องเปลี่ยน BIOS ใหม่

1 – 2 – 1 มีปัญหาที่ชิพ Timer ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

1 – 2 – 2 เมนบอร์ดเสีย

1 – 2 – 3 เมนบอร์ดเสีย

1 – 3 – 1 เมนบอร์ดเสีย

1 – 3 – 3 เช่นเดียวกับเสียงดัง 2 ครั้ง ของ AMI

1 – 3 – 4 เมนบอร์ดเสีย

1 – 4 – 1 เมนบอร์ดเสีย

1 – 4 – 2 มีแรมบางตัวเสีย
2 - - มีเสียงบี๊บดังก่อนสองครั้ง ก่อนที่จะมีเสียงบี๊บอื่นตามมา แสดงว่ามีปัญหาจากแรม

3 – 1 - มีชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสีย

3 – 2 – 4 มีปัญหาที่ตัวชิพควบคุมการทำงานของเมนบอร์ด

3 – 3 – 4 มีปัญหาที่การ์ดแสดงผล อาจจะเสียบไม่แน่น หรือ ช่องเสียบการ์ดไม่ดี เป็นต้น

3 – 4 - การ์ดแสดงผลเสียต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่

4 – 2 – 1 มีชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสียต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 2 – 2 ตรวจสอบคีย์บอร์ด โดยการนำไปเสียบกับเครื่องอื่นก่อนว่าใช้งานได้หรือไม่ ถ้าคีย์บอร์ดตัวนั้นใช้งานได้ก็ ต้อง เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 2 – 3 เหมือนกับ 4 – 2 – 2

4 – 2 – 4 มีการ์ดตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ดเสีย ให้ลองถอดการ์ดแต่ละตัวออก แล้วทดสอบการ์ดทีละการ์ด ดู ว่าเสียงหายหรือไม่ ถ้าทดสอบการ์ดหมดทุกการ์ดแล้วปรากฏว่าเสียงยังไม่หาย ก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 1 ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 2 ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 3 ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่

4 – 3 – 4 ดูวันที่และเวลาของคอมพิวเตอร์ว่าเดินตรงหรือไม่ ให้ลองตั้งเวลาใหม่แล้วปิดเครื่องทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงเปอดเครื่องใหม่เพื่อที่จะดูว่าวันเวลาตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้เปลี่ยนแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ถ้าเปลี่ยนแล้วยังมีเสียง ลักษณะนี้อยู่ แสดงว่ามีปัญหาจากพาวเวอร์ซัพพลาย

4 – 4 – 1 มีปัญหาที่พอร์ตอนุกรม

4 – 4 – 2 มีปัญหาเหมือนกับ 4 – 4 – 1

4 – 4 – 3 มีปัญหาที่ Math coprocessor ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ซีพียู

ระดับ 486 ขึ้นมา ต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่ นี่ก็คือลักษณะของ beep code ของ BIOS ยี่ห้อต่างๆ ซึ่งก็จะทำให้การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับคุณง่ายขึ้นมาก เลยทีเดียวครับ และนี่ก็คือเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากต่อช่างซ่อมคอมพิวเตอร์เขาล่ะ

เครื่องเปิดติด แต่จอภาพไม่แสดงภาพ

             พาวเวอร์ซัพพลายทำงาน แต่จอมอนิเตอร์ไม่แสดงผล ให้คุณตรวจสอบว่าปลั๊กไฟของจอมอนิเตอร์นี้ได้เสียบอยู่หรือไม่ เปิดมอนิเตอร์หรือยัง ไฟแสดงสถานะการทำงานติด อยู่หรือเปล่า, สายเคเบิลที่นำสัญญาณมาจากการ์ดแสดงผลมาเข้าจอมอนิเตอร์นี้ได้ต่อเรียบร้อย แล้วหรือและแน่นดีหรือไม่ ถ้า ยังไม่แน่นก็ให้ทำการปิดเครื่องแล้วจึงเสียบให้แน่น การ์ดแสดงผลได้ติดตั้งลงบนสล็อตได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ถ้ายังไม่เรียบ ร้อยก็ให้ปิดเครื่อง ถอดการ์ดแสดงผลออกมาแล้วใส่เข้าไปใหม่ให้แน่นอีกครั้ง ต่อสายสัญญาณต่างๆให้เรียบร้อยแล้วจึงทำการ เปิดเครื่องใหม่อีกครั้งหนึ่ง
            เมื่อทุกอย่างได้ต่อเสร็จเรียบร้อยอย่างถูกต้องดีแล้ว และพาวเวอร์ซัพพลายก็ทำงานได้ปกติ ก็ให้ทำการกดปุ่มพาวเวอร์สวิตช์ ให้สังเกตุดูสถานะการทำงานจาก LED ที่อยู่ด้านหน้าของตัวเครื่องว่ามีแสงสว่างขึ้นมาหรือไม่ และมีการกระพริบหรือเปล่า รวมถึงพัดลมเคสด้วยเช่นกัน ถ้าทุกอย่างที่กล่าวมาทำงานปกติแต่จอมอนิเตอร์ยังคงไม่ทำงาน ถึงตอนนี้คุณต้องนึกแล้วล่ะครับ ว่าก่อนที่เครื่องจะเริ่มมีปัญหานั้น คุณได้ทำอะไรกับเครื่องของคุณลงไปบ้าง อย่างเช่นว่าคุณได้เพิ่มฮาร์ดแวร์ตัวใหม่เข้าไปใน เครื่องของคุณ แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเกิดมีปัญหาขึ้นมา แต่ไม่แน่ใจว่าปัญหานั้นจะเกิดจากฮาร์ดแวร์ตัวนั้นหรือไม่ ก็ ให้ถอดฮาร์ดแวร์ตัวนั้นออกเสียก่อนแล้วลองดูอีกครั้ง ถ้าทุกอย่างกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมก็แสดงว่าปัญหาเกิดมาจาก ฮาร์ดแวร์ตัวนี้นั่นเอง แต่หากทำอย่างนี้แล้วไม่สามารถที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้เลย ก็จำเป็นที่จะต้องหาคำตอบให้ได้ว่าเกิดปัญหาอะไร ให้ทำการ ถอดฮาร์ดแวร์ทุกอย่างออกให้หมดยกเว้นแต่ ซีพียู, หน่วยความจำ, คีย์บอร์ด, เมาส์ และ การ์ดแสดงผล แล้วบูตเครื่องอีกครั้ง ให้ดูผลว่ามันยังคงมีปัญหาอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้ถอดฮาร์ดแวร์ตัวนั้นออกแล้วใส่ฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆเข้าไปทีละชิ้น แล้วค่อยบูต เครื่องใหม่ทีละครั้งทำอย่างนี้เรื่อยไป จนกระทั่งพบฮาร์ดแวร์ตัวที่มีปัญหา ก็ให้ตัดฮาร์ดแวร์ตัวนั้นออกจากระบบเสีย ทำ อย่างนี้กับอุปกรณ์ทุกตัวเพื่อเราจะได้ทราบถึงอุปกรณ์ที่มีปัญหาทั้งหมด เพื่อที่จะได้แก้ไขไปเสียทีเดียว แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันที่ ว่าฮาร์ดแวร์จำพวกการ์ดต่างๆ ไม่ได้เสีย แต่ที่เสียซะเองก็คือเมนบอร์ด

เมื่อพีซีบู๊ตไม่ขึ้น

         ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลังจากที่เราได้ทำการกดปุ่มพาวเวอร์สวิตช์ คอมพิวเตอร์ก็จะทำการโพสต์ (POST) เครื่องขึ้นมาก่อนที่จะทำงานในกระบวนการลำดับถัดมา ก็คือการบูต(Boot) เพื่อที่จะเข้าระบบปฏิบัติการต่อไป แต่ถ้าหาก คอมพิวเตอร์ไม่สามารถที่จะทำงานให้ผ่านขั้นตอนการบูตนี้ไปได้แล้วล่ะก็ มันก็จะไม่สามารถที่จะเข้าสู่ระบบปฏิบัติการได้ ส่ง ผลให้เราไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เลย
         เมื่อคุณได้เจอกับปัญหานี้ สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ ก็คือตรวจสอบในส่วนของภาคจ่ายไฟ ควรเริ่มตรวจสอบตั้งแต่ ปลั๊ก ไฟ, สายไฟ, ยูพีเอส หรืออุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ก็ให้ตรวจสอบในส่วนนี้ด้วย, ปลั๊กที่อยู่ด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลาย, พาวเวอร์ซัพพลาย, คอนเน็คเตอร์จ่ายไฟที่อยู่ตรงเมนบอร์ด, สายพาวเวอร์ที่ออกมาจากซัพพลายเพื่อที่จะจ่ายให้กับเมนบอร์ด, สวิตช์ สิ่งที่กล่าวมานี้ทั้งหมดคุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบ ในพาวเวอร์ซัพพลายบางตัวอาจจะมีสวิตช์ตัวหนึ่งติดตั้ง อยู่ทางด้านหลังของมัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมันจะมีสัญลักษณ์ของสวิตช์เปิดปิด คือ 0/1 ก็ให้ตรวจจสอบว่ามันได้ถูกเปิดอยู่หรือ ไม่ เมื่อคุณได้ตรวจสอบทุกอย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วนั้น ต่อมาก็เป็นการปรับขนาดของแรงดันไฟสลับให้เหมาะสม โดยบ้าน เรานั้นใช้ไฟกระแสสลับ 230 โวลต์ ซึ่งจะมีให้เลือกอยู่สองระดับระหว่าง 115 โวลต์ กับ 230 โวลต์ ก็ให้คุณปรับให้ตรง 230 โวลต์ ที่ผมให้คุณตรวจเช็คส่วนนี้ก็เพราะว่า จากอาการดังกล่าวนี้มันเหมือนกับว่าไม่ได้มีการจ่ายไฟให้กับระบบคอมพิวเตอร์ นั่นเอง
        แต่ถ้าคุณตรวจสอบในส่วนนี้ทั้งหมดแล้ว และมันสามารถใช้งานได้เป็นปกติทั้งหมด แต่อาการยังคงเหมือนเดิม ให้คุณ สันนิษฐานได้เลยว่าไบออสของคุณมีปัญหาและคุณอาจจะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ เลยก็ได้

เริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา

        การตรวจสอบปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์  จะไม่เหมือนกับการซ่อมโทรศัทน์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์  โอกาสที่จะเกิดปัญหาจึงเป็นไปได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์  การวิเคราะห์อาจเริ่มต้นจากเหตุการณ์ก่อนหน้าที่เครื่องจะไม่ทำงาน เช่น การอัพเกรดอุปกรณ์ในเครื่อง หรือการติดตั้งโปรแกรมใหม่เพิ่มลงไป เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้เป็นลำดับ


ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blog แนะนำวิธีซ่อมคอมด้วยตัวเองในแบบต่างๆ

         ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจาก HardWare หรือ SoftWare ซึ่งสามารถแยกเป็นปัญหาย่อยๆ อีกนับไม่ถ้วน
         ผมเองเริ่มจากการที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องของผู้ใช้ในที่ทำงานจึงอยากนำความรู้หรือเทคนิคในการซ่อมคอมพิวเตอร์มาเผยแพร่เพราะปัญหาบางอย่างเราสามารถแก้ปัญหาเองได้ โดยไม่ต้องไปพึ่งร้านซ่อมคอมพิวเตอร์เลย